เมื่อทุกคนที่มีเงินได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ทั้งนี้มีการนำเงินได้ทั้งปีมาหักค่าใช้จ่าย และลดหย่อนภาษีได้ โดยทั่วไปสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท และถ้ารายได้สุทธิเกิน 150,000 บาท จะเสียภาษีในอัตราเริ่มต้น 5% และจะสูงขึ้นตามอัตราภาษีแบบขั้นบันได แต่รายการลดหย่อนภาษีนี่ล่ะ ที่จะช่วยทำให้เราเสียภาษีน้อยกว่าคนที่ไม่มีอะไรมาลดหย่อนภาษีเลย
รายการลดหย่อนภาษีหลักๆ ที่ดูแล้วคุ้มค่า นั่นก็คือ การซื้อประกัน นั่นเอง ซึ่งมีทั้งประกันสุขภาพ และประกันชีวิต
โดยเราสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตมาลดหย่อนได้สูงสุดถึง 100,000 บาท แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
แต่ทั้งนี้ การลดหย่อนภาษีทั้งประกันชีวิต และประกันสุขภาพ ต้องรวมกันไม่เกิน 100,000 บาทนะ และนอกจากจะซื้อประกันชีวิตให้กับตัวเองแล้ว เรายังสามารถซื้อให้กับพ่อแม่ รวมถึงคู่สมรสได้ด้วย โดยเบี้ยประกันรวมกันไม่เกิน 15,000 บาท
บอกก่อนว่า ประกันสุขภาพของซิกน่านี้ สามารถดูรายละเอียด และซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย สะดวกสุดๆ นอกจากนี้ยังไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วย รวมถึงมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ยามเดินทาง (Emergency Medical Services) เมื่ออยู่ห่างจากที่อยู่ถาวรมากกว่า 150 กม. ทั้งในและต่างประเทศ ทั่วโลก 24 ชั่วโมง
เว็บไซต์ >>> https://www.cigna.co.th/
call center >>> 1758
จุดเด่นของประกันตัวนี้คือ เป็นประกันสุขภาพที่คุ้มครอง 4 โรคร้ายยอดฮิต ได้แก่ โรคมะเร็ง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และเบาหวาน ให้คุ้มครองสูงสุดถึง 9.6 ล้านบาท ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล สำหรับการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน และการติดเชื้อทางเดินอาหาร หากเข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลที่อยู่ในเครือข่าย และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขและวงเงินคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย พร้อมอุ่นใจกับบริการสายด่วนสุขภาพซิกน่า ให้คุณได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพโดยบุคลากรทางการแพทย์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ค่าเบี้ยเริ่มต้น 484 บาท / เดือน
ซื้อประกันได้ที่ >>> https://bit.ly/3aPETei
จุดเด่นของประกันตัวนี้คือคุ้มครองโรคกลุ่มออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตของมนุษย์ออฟฟิศ ได้แก่ โรคกรดไหลย้อน กระเพาะอาหารอักเสบ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เวียนศีรษะบ้านหมุน การกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ นิ้วล็อคและหัวเข่า นอกจากนี้ยังรวมไปถึง โรคไมเกรน ภาวะตาผิดปกติที่เกิดจากการทำงาน ปวดผังผืดกล้ามเนื้อ กระดูกสันหลังเสื่อม ริดสีดวงทวาร ลำไส้แปรปรวน โดยคุ้มครองที่วงเงินสูงถึง 600,000 บาท และยังคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ไม่จำกัดค่ารักษาต่อครั้งหรือต่อวัน รวมถึงการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกด้วย ไม่ต้องออกเงินสำรองจ่ายไปก่อน
ค่าเบี้ยเริ่มต้น 479 บาท / เดือน
ซื้อประกันได้ที่ >>> https://bit.ly/3q9qf81
ประกันสุขภาพแผนนี้ นอกจากจะคุ้มครอง 3 โรคร้าย คือ โรคมะเร็ง หัวใจ และหลอดเลือดสมองแล้ว ยังคุ้มครองไปถึงกลุ่มโรคเมตาบอลิกซินโดรม ซึ่งครอบคลุมไปถึงโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ไขมันพอกตับ นิ่วในถุงน้ำดี หลอดเลือดแดงแข็ง ไขมันในเลือดสูง นอกจากนี้ยังมีค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก สำหรับการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล สำหรับการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน และการติดเชื้อทางเดินอาหาร
ค่าเบี้ยเริ่มต้น 674 บาท / เดือน
ซื้อประกันได้ที่ >>> https://bit.ly/36WLAKw
จุดเด่นของประกันสุขภาพตัวนี้คือ กรณีตรวจพบมะเร็งทุกระยะรับเงินก้อนทันทีสูงสุด 1,500,000 บาท คุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท ในกรณีที่เป็นมะเร็งผิวหนัง และจ่ายเบี้ยคงที่นานถึง 10 ปี (ตามอายุแรกเข้า) เพียงแค่ตอบคำถามสุขภาพ 1 คำถาม และไม่ต้องตรวจสุขภาพด้วย ทำให้อุ่นใจได้ว่า หากตรวจพบมะเร็งไม่ว่าระยะใด ก็ไม่ต้องเป็นกังวลกับค่ารักษาพยาบาล
ค่าเบี้ยเริ่มต้น 116 บาท / เดือน
ซื้อประกันได้ที่ >>> https://bit.ly/3jBWmeb
นอกจากประกันชีวิต และประกันสุขภาพที่ได้สิทธิลดหย่อนภาษีแล้ว ยังมีรายการอื่นๆ ที่จะลดหย่อนภาษีได้อีก คือ
1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และครอบครัว
– ภาษีส่วนตัว ลดหย่อนได้ 60,000 บาททันที โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
– ภาษีคู่สมรส ลดหย่อนได้ 60,000 บาท โดยต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้
– ภาษีบุตร ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท เฉพาะบุตรอายุไม่เกิน 20 ปี หรือไม่เกิน 25 ปีและกำลังเรียนอยู่ แต่ในกรณีลูกคนที่ 2 ขึ้นไป และเกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป จะลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
– ภาษีบิดามารดา ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท โดยใช้สิทธิ์ซ้ำระหว่างพี่น้องไม่ได้
– ภาษีผู้พิการ ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยผู้ลดหย่อนภาษีต้องเป็นผู้ดูแลที่ระบุอยู่ในบัตรคนพิการเท่านั้น
– ค่าฝากครรภ์และทำคลอด ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท โดยครอบคลุมทั้งค่าฝากครรภ์ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด และค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล
2. ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
– กองทุนประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5,850 บาท (จากเดิมไม่เกิน 9,000 บาท)
– กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
– กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.)/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
– กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
– กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) ลดหย่อนได้สูงสุด 200,000 บาท (ซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายน 2563) โดยไม่ต้องรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
– กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 13,200 ต่อปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
3. ลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค
– เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน
– เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน
– เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
4. ค่าลดหย่อนด้วยมาตรการรัฐ
– ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านหรือคอนโด สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท
– มาตรการช้อปดีมีคืน สามารถลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2563 สำหรับการซื้อสินค้าและบริการผ่านผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนตามจำนวนที่มีการจ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 30,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2563
3. ลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค
– เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน
– เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน
– เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
4. ค่าลดหย่อนด้วยมาตรการรัฐ
– ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านหรือคอนโด สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท
– มาตรการช้อปดีมีคืน สามารถลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2563 สำหรับการซื้อสินค้าและบริการผ่านผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนตามจำนวนที่มีการจ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 30,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2563
ประกันสุขภาพ ช่วยทำให้มั่นใจได้ว่า เมื่อเกิดเหตุร้ายหรือไม่คาดฝันขึ้น อย่างน้อยๆ ก็ยังมีคนช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ และที่สำคัญ ตอนนี้ประกันสุขภาพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้แล้ว เหมือนได้โบนัส 2 ต่อเลย หากสนใจประกันสุขภาพแบบไหน ติดต่อกับ Cigna Thailand ได้เลยค่ะ
Call Center : 1758
Website : https://www.cigna.co.th/
Facebook : Cigna Thailand